วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5



การออกแบบการเรียนการสอน
Instructional SYSTEM Design (ISD): Using the ADDIE Model
การออกแบบการสอนเป็นวิธีการระบบ   เพื่อการวิเคราะห์การออกแบบการพัฒนาการดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย และกิจกรรมการเรียน
          การออกแบบการสอนมุ่งหมายเพื่อวิธีการสอนที่ยึดถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มากกว่าวิธีการที่ยึดถือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง  จนกระทั่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลเกิดขึ้นได้นี่หมายความว่าจะต้องควบคุมกำกับการองค์ประกอบการสอนทุกชนิดด้วยผลลัพธ์ทางการเรียนซึ่งได้รับการวินิจฉัยภายหลังการวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น)ของผู้เรียน อย่างต่อเนื่องสมบูรณ์

          ขั้นตอนเหล่านี้บางครั้งก็เหลื่อมซ้อนกันและสามารถทำให้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้จะให้แนวทางอย่างเป็นพลวัตและมีความยืดหยุ่นสำหรับการสอนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   ขั้นตอนหนึ่งๆ    เป็นผลิตผลเริ่มต้นของขั้นตอนต่อไป

การออกแบบระบบการสอนโดยใช้แบบจำลอง ADDIE
(Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model)
การวิเคราะห์(Analysis)
            ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ   ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหาระบุแหล่งของปัญหา         และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้    ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ  เช่น   การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งานการวิเคราะห์ภารกิจ    ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย (goal),  และรายการภารกิจที่จะสอน  ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป

การออกแบบ (Design)
          ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน  ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์ และขยายผลสารัตถะการสอน
องค์ประกอบบางประการของขั้นตอนการออกแบบอาจจะประกอบด้วยการเขียนรายละเอียดกลุ่มประชากรเป้าหมายการดำเนินการวิเคราะห์การเรียน,          การเขียนวัตถุประสงค์และข้อทดสอบเลือกระบบการนำส่ง และจัดลำดับขั้นตอนการสอน ผลลัพธ์ของขั้นตอนการออกแบบจะเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับขั้นตอนการพัฒนาต่อไป

การพัฒนา (Development)
          ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือสร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอนและสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลองและซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน)
การดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)

          ขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆสนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆและเป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้

การประเมินผล (Evaluation)
          ขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน  การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ      และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว   การประเมินผล    อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation)

 การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation):
            ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆ               จุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้ คือ  เพื่อปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล

การประเมินผลรวม (Summative evaluation): 
          โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว  การประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน  (เช่นจะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรือจะดำเนินการต่อไปหรือไม่)
การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Design             
รศ. ดร. ฉลอง  ทับศรี  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

               การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System design) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional design and development) เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือมาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach) 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ 
                ในการดำเนินงานใด ๆ ก็ตาม ผู้รับผิดชอบจะต้องคำถึงถึงประสิทธิผล (Effectiveness) และประสิทธิภาพ   (efficiency) ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพนั้นมักจะนำแนวคิดของระบบ (system) มาใช้ ทั้งนี้เพราะระบบจะประกอบด้วยวิธีการที่จะทำให้เราได้หลักการและกระบวนการในการทำงานเนื่องจากระบบจะมีกลไกในการปรับปรุง แก้ไข การทำงานในตัวเองของมันเอง โดยการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ทั้งนี้ถ้าเราเข้าใจระบบเราก็สามารถนำแนวความคิดไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้

ความหมายของระบบ 
                มีผู้ให้ความหมายขอคำว่า ระบบ” (system) ไว้หลายคน เช่น บานาธี่ (Banathy, 1968) หรือ วอง (Wong, 1971)
                บานาธี่ ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบว่า ระบบ หมายถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้”   ความหมายของระบบตามแนวทางของวองก็จะมีลักษณะแนวทางใกล้เคียงกับของบานาธี่ โดยวองให้ความหมายของระบบวา ระบบ หมายถึง การรวมกลุ่มของส่วนประกอบต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้
                จากความหมายข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าระบบจะต้องมี
องค์ประกอบ
องค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและ
ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ
ลักษณะของระบบที่ดี 
                ระบบที่ต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และมีความยั่งยืน    (sustainable) การมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ระบบนั้นจะต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (interact  with  environment)
มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ (purpose)
มีการรักษาสภาพตนเอง (self – regulation)
มีการแก้ไขตนเอง (self – correction)
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบๆ ตัวของระบบ โลกรอบ ๆ ตัวนี้ เรียกว่า สิ่งแวดล้อมการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เองทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็นระบบเปิด (open system) กล่าวคือ ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs) จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร ข้อมูล ฯลฯ ระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต   (outputs) แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกทีหนึ่ง

                จากภาพ แสดงให้เห็นได้ว่าระบบมีการแลกเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ (สิ่งนำเข้าและผลผลิต) กับสิ่งแวดล้อม การแลกเปลี่ยนจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องเสมอต้นเสมอปลาย ในเรื่องสิ่งแวดล้อมของระบบนี้จะกล่าวถึงอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งในบทต่อไป

ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
                การออกแบบการเรียนการสอน (ID)   เกิดจากการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system  approach)  ในการฝึกทหารของกองทัพบกอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ใด ๆ ไม่ควรจะเกิดอย่างบังเอิญ แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม  มีกระบวนการ มีขั้นตอน  และสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน
ในการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความรู้ศาสตร์ สาขาต่าง ๆ อันได้แก่  จิตวิทยาการศึกษา  การสื่อความหมาย  การศึกษาศาสตร์ทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม

ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอน  คือ  ศาสตร์ (Science)   ในการกำหนดรายละเอียด รายการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งในเนื้อหาจำนวนมาก หรือเนื้อหาสั้น ๆ (Richey, 1986)

ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
                เป้าหมายหลักของครูหรือนักฝึกอบรมในการสอน  คือการช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้  และในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก ๆ อยู่หลายประการที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยง ปัญหาดังกล่าวคือ
ปัญหาด้านทิศทาง  (Direction)
ปัญหาด้านการวัดผล  (Evaluation)
ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา  (Content  and  Sequence)
ปัญหาด้านวิธีการ  (Method)
ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ  (Constraint)  

               ปัญหาด้านทิศทาง
ปัญหาด้านทิศทางของผู้เรียนก็คือ ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร 
ต้องสนใจจุดไหน  สรุปแล้วพูดไว้ว่าเป็นปัญหาด้านจุดมุ่งหมาย

                ปัญหาด้านการวัดผล
                ปัญหาการวัดผลนี้จะเกิดขึ้นกับทั้งผู้สอนและผู้เรียน  ผู้สอนจะมีปัญหา  เช่น จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนของตนเกิดการเรียนรู้หรือไม่  จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการที่ตนใช้อยู่นั้นใช้ได้ผลดี  ถ้าจะปรับปรุงเนื้อหาที่สอนจะปรับปรุงตรงไหน  จะให้คะแนนอย่างยุติธรรมได้อย่างไร
                ปัญหาของผู้เรียนเกี่ยวกับการวัดผลอาจเป็น  ฉันเรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งนี้  ข้อสอบยากเกินไป  ข้อสอบกำกวม  อื่น ๆ
                ปัญหาด้านเนื้อหา  และการลำดับเนื้อหา
                ปัญหานี้เกิดขึ้นกับครูและผู้เรียนเช่นเดี่ยวกัน  ในส่วนของครูอาจจะสอนเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องกัน  เนื้อหายากเกินไป  เนื้อหาไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย  เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน  และอื่น ๆ  อีกมากมาย
                ในส่วนของผู้เรียนก็จะเกิดปัญหาเช่นเดี่ยวกับที่กล่าวข้างต้นอันเป็นผลมาจากครู
                อาจเป็นการสอนหรือวิธีการสอนของครูทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย  ไม่อยากเข้าห้องเรียน  มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนสิ่งนั้น ๆ
                หรือปัญหาการสอนที่ไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้  เช่น  ตั้งเป้าหมายไว้ว่าให้ผู้เรียนสามารถใช้กล้องถ่ายวิดีโอได้อย่างชำนาญ  แต่วิธีสอนกลับบรรยายให้ฟังเฉย ๆ และผู้เรียนไม่มีสิทธิจับกล้องเลย เป็นต้น
                ปัญหาข้อจำจัดต่าง ๆ
                ในการสอนหรือการฝึกอบรมนั้นต้องใช้แหล่งทรัพยากร 3 ลักษณะ คือ บุคลากร ครูผู้สอน และสถาบันต่าง ๆ
                บุคลาการที่ว่านี้อาจจะเป็นวิทยากร  ผู้ช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น พนักงานพิมพ์  ผู้ควบคุมเครื่องไม้เครื่องมือ  หรืออื่น ๆ
                สถาบันต่าง ๆ หมายถึง  แหล่งที่เป็นความรู้  แหล่งที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนต่าง ๆ อาจเป็นห้องสมุด  หน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น
สื่อการสอน
คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา

วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยายการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกันระบบการการเรียนการสอนระบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ

1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
2. พิจารณาพฤติกรรมพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาต่อไป เพื่อจะได้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี
4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน
5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน ดังกล่าว แสดงได้ดังนี้